แนะนำหนังสือ “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ โดย” วสันต์ เหลืองประภัสร

ความท้าทายของโลกยุคใหม่มีเพิ่มมากขึ้นในหลากเรื่อง หลายประเด็น ไม่เว้นแม้แต่ความการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ (โดยเฉพาะระบบราชการของประเทศไทย) ที่ถูกท้าทายการทำงานและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้งในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ของสังคม (จากสยามถึงไทย) และเป็นที่แน่นอนว่าการท้าทายของโลก การเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตร และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยียิ่งสร้างความท้าทายอย่างมากให้กับระบบดังกล่าว ยิ่งในสภาวะปัจจุบัน (2564) การระบาดของไวรัส COVID-19 ด้วยแล้ว ความท้าทายที่แต่เดิมก็หนักหนาเอาการต่อระบบที่โครงสร้าง และกลไกขนาดใหญ่ มีความเชื่องช้าและหวงแหนความมั่นคงของการทำงานแบบเดิม ๆ ยิ่งถูกท้าทาย และเร่งปฏิกิริยาของการเปลี่ยนแปลงต่อการรับมือของสภาวะความเปลี่ยนแปลงทั้งจากกระแสโลก และกระแสโรคยิ่งขึ้นไปอีก ซึ่งแน่นอนว่าหากเราพิจารณาการทำงานของหน่วยงานภาครัฐในช่วงนี้ เราอาจจะเกิดอาการมึนงงชั่วขณะและตั้งคำถามว่าเขาทำอะไรกันอยู่หรือ (?) เพราะนอกจากปัญหาจะทวีความซับซ้อน ในสภาวะเร่งรีบแล้ว ตัวแสดงในการจัดการปัญหาหรือช่วยรับมือก็มีเยอะฝ่ายและมากรายยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้นระบบราชการของไทยควรจะดำเนินการเช่นไรในสภาวะของความท้าทายที่ระบบกำลังถูกท้าทายอย่างมาในช่วงเวลานี้

หนังสือ : การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ
โดย : วสันต์ เหลืองประภัสร์
จำนวน : 599 หน้า
ราคา : 555 บาท
.
“การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ” หนังสือที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นทั้งงานวิจัย คู่มือของการปฏิบัติ แนวทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว และการถอดบทเรียนถึงการหยิบยกเอาแนวคิดทฤษฎีที่หนังสือได้อธิบายเอาไว้ไปลองใช้ และนำมาสังเคราะห์เพื่อให้เห็นผลของการดำเนินงาน และเพื่อให้เห็นว่าหากมีการนำเอาแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้ หรือนำไปปฏิบัติใช้ หน้าตาและผลของการดำเนินงานจะออกมาเช่นใด มีลักษณะเป็นอย่างไร และมีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไรหากจะมีการนำเอาแนวทางดังกล่าวไปปรับใช้ในภายหน้า
.
โดยที่เนื้อหาของ “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ” คือการบอกเล่าถึงแนวคิดพื้นฐานของทั้งเรื่องการอภิบาล ระบบราชการ สภาวะของสังคมไร้ศูนย์กลาง และความท้าทายที่เกิดขึ้นกับระบบการบริหารราชการในปัจจุบัน อีกทั้งในส่วนของภาคทฤษฎีก็ช่วยสร้างความเข้าใจในเรื่องของความเชื่อมโยงทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ทฤษฎีต่อกรณีศึกษาได้อย่างเป็นระบบ
.
นอกจากนี้ “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ” ยังบอกเล่าเรื่องราว และทำการสังเคราะห์เรื่องเล่าของกลุ่มทดลง หรือกรณีศึกษาที่ได้มีการนำเอาแนวทางดังกล่าวเข้าไปลองปฏิบัติจริงในพื้นที่ และ “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ” ได้ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ความรู้ ประสบการณ์ และสิ่งที่ได้จากพื้นที่ เพื่อให้เห็นถึงผลการดำเนินงาน และผลสะท้อนในประเด็นต่าง ๆ
.
อาจจะเรียกได้ว่า “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ: สภาวะสังคมไร้ศูนย์กลาง การแตกกระจายในระบบบริหารราชการแผ่นดินและแสวงหาตัวแบบใหม่ในการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐ” เป็นทั้งหนังสือที่ทำหน้าที่เป็นความรู้พื้นฐานในเรื่องดังกล่าว เป็นบันทึกการดำเนินงานในแนวทางนั้น และเป็นคู่มือสำหรับผู้ทึ่ต้องการปรับประยุกต์ใช้ในเรื่องของ “การอภิบาลบนฐานของความร่วมมือ” ในการบริหารจัดการทั้งในเชิงของระบบ และในเชิงของพื้นที่ได้อย่างครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการได้เป็นอย่างดี
.
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก รีวิวเว้ย