เกี่ยวกับเรา

ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม (Direk Jayanama Research Center)

นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา  ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหาและความท้าทายหลายประการในปริบททางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ  ในส่วนของการเมืองในประเทศนั้น รูปแบบการปกครอง โครงสร้างอำนาจ สถาบันทางการเมือง และอื่นๆ กำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน  ที่ความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชนยังคงปรากฎให้เห็น ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยผลจากกระแสโลกาภิวัตน์ซึ่งทำให้สภาพแวดล้อมระหว่างประเทศเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การเกิดขึ้นของตัวแสดงใหม่ๆในชุมชนระหว่างประเทศ การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนซึ่งเรื่องต่างๆเหล่านี้ล้วนมีนัยต่อประเทศไทยทั้งสิ้น

ผลจากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง  หลายปีที่ผ่านมา คณาจารย์และนักวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการสูงมาก จนได้รับการยกย่องจากสังคมให้เป็นผู้นำองค์ความรู้ด้านสังคมการเมืองและการต่างประเทศของประเทศไทย ได้มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการและงานวิจัยทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงนโยบายเพื่อผลิตความรู้ด้านรัฐศาสตร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในมิติต่างๆของอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานวิจัย

ไม่เพียงเป็นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อนำมาใช้สอนนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังได้นำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบผ่านผลงานวิจัย บทความวิชาการ ตำราวิชาการ หนังสือ การประชุมหรืองานสัมมนาวิชาการต่างๆ  หรือแม้กระทั่งการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางแก้ไขต่อปัญหาที่สังคมไทยประสบอยู่ในปัจจุบัน

ผลจากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุง  หลายปีที่ผ่านมา คณาจารย์และนักวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งประกอบไปด้วยบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการสูงมาก จนได้รับการยกย่องจากสังคมให้เป็นผู้นำองค์ความรู้ด้านสังคมการเมืองและการต่างประเทศของประเทศไทย ได้มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการและงานวิจัยทั้งเชิงทฤษฎีและเชิงนโยบายเพื่อผลิตความรู้ด้านรัฐศาสตร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในมิติต่างๆของอย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการทำงานวิจัย ไม่เพียงเป็นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อนำมาใช้สอนนักศึกษาเท่านั้น แต่ยังได้นำมาเผยแพร่ให้สาธารณชนได้ทราบผ่านผลงานวิจัย บทความวิชาการ ตำราวิชาการ หนังสือ การประชุมหรืองานสัมมนาวิชาการต่างๆ  หรือแม้กระทั่งการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางแก้ไขต่อปัญหาที่สังคมไทยประสบอยู่ในปัจจุบัน

กิจกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เช่นเดียวกันที่ต้องการยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยด้วยการทำวิจัย หรือ “การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย” (Research University) รวมทั้งการก้าวสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” (World Class University) 

เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมข้างต้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป คณะรัฐศาสตร์ จึงได้ยกระดับ “ฝ่ายวิจัยเดิม” ขึ้นเป็น “ศูนย์วิจัย” เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัยโดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ที่จะสนับสนุนการผลิตผลงานวิจัยของบุคคลากรคณะอย่างเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยได้นำชื่อของท่านศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม คณบดีคนแรกของคณะฯผู้ซึ่งมีคุณูปการมากมายต่อคณะรัฐศาสตร์และประเทศไทย มาเป็นชื่อของศูนย์วิจัยฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและให้ชื่อของท่านได้ปรากฎเป็นเกียรติเป็นศรีแก่อนุชนคนรุ่นหลังสืบไป 

วัตถุประสงค์ ในการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม” ได้แก่

1.เพื่อเป็นหน่วยงานในการบริหารจัดการงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพ และให้บริการด้านการทำวิจัยแก่บุคคลากรคณะรัฐศาสตร์ โดยการสนับสนุน ส่งเสริมการผลิตงานวิจัยของคณะรัฐศาสตร์ให้มีจำนวนมากขึ้นและมีคุณภาพสูงในหัวข้อที่เป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ 

2.เพื่อเป็นหน่วยงานที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมที่มีคุณภาพ โดย

                2.1) เป็นศูนย์กลางรวมงานวิจัยของคณะฯ และเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยสู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย หนังสือ ตำราวิชาการ การจัดประชุม/สัมมนาวิชาการทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ วารสารวิชาการ การจัดทำ    ฐานข้อมูลงานวิจัยของคณะลงในเว็บไซต์ของศูนย์วิจัยฯเพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าไปสืบค้นได้ เป็นต้น

                2.2) เป็นคลังข้อมูลด้านรัฐศาสตร์ โดยการจัดทำมุมค้นคว้าด้านรัฐศาสตร์ในหัวข้อที่ตอบโจทย์ความต้องการรู้ของสังคมเผยแพร่ลงในเว็บไซต์

                2.3) เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแวดวงวิจัยสายสังคมศาสตร์ที่ครบครัน และทันสมัยต่อเหตุการณ์เผยแพร่ทางในเว็บไซต์ อีเมล์ เฟซบุ๊คและบอร์ดประชาสัมพันธ์ของคณะฯ

3.เพื่อเป็นหน่วยงานในการเพิ่มศักยภาพด้านการทำวิจัยแก่บุคลากรคณะรัฐศาสตร์อย่างเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยการจัดโครงการฝึกอบรมด้านการทำวิจัยในหัวข้อต่างๆ

4.เพื่อเป็นศูนย์กลางในการผสานความร่วมมือ การรวมกลุ่มการทำงานของคณาจารย์/นักวิจัยทั้งภายในคณะฯ และระหว่างคณะฯกับหน่วยงานภายนอกทั้งในและต่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างสรรค์ผลงานวิจัยร่วมกัน

5.เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาควิชาการกับผู้กำหนดนโยบายและสาธารณชน เพื่อก่อให้เกิดการระดมสมองจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องซึ่งจะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานวิจัยมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถนำเสนอการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อภาคปฏิบัติอย่างแท้จริงนำไปสู่การพัฒนาประเทศและสังคมโลกต่อไป

การให้บริการของศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม

ศูนย์วิจัย ดิเรก ชัยนาม มีความมุ่งมั่นในการให้บริการด้านการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ โดยได้ให้บริการด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.บริการด้านการทำวิจัย

                1.1) การให้ทุนอุดหนุนสนับสนุนการดำเนินงานด้านการผลิตผลงานวิจัย/งานวิชาการต่างๆ และการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน

                1.2) การให้บริการด้านธุรการกับหน่วยงานทั้งภายในคณะฯและแหล่งทุนนอกคณะฯ

                1.3) บริการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินงานวิจัย เช่น วิธีดำเนินการวิจัย การเก็บ   รวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงานวิจัย เป็นต้น

2.  บริการเผยแพร่ความรู้ด้านรัฐศาสตร์/ข่าวสารแวดวงการวิจัย/วิชาการสายสังคมศาสตร์

                2.1)   การจัดทำฐานข้อมูลงานวิชาการ/งานวิจัยด้านรัฐศาสตร์เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้า

                -ฐานข้อมูลงานวิชาการ/งานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยคณะฯ เผยแพร่ลงในเว็บไซต์หรือผู้ใช้บริการสามารถติดต่อขอยืมฉบับจริงเพื่อถ่ายเอกสารได้ที่ศูนย์วิจัยฯทั้งที่ท่าพระจันทร์และรังสิต

                -ฐานข้อมูล “มุมค้นคว้าทางรัฐศาสตร์” ในหัวข้อต่างๆที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม เผยแพร่ลงในเว็บไซต์

                2.2) การผลิตสิ่งพิมพ์ โดยได้เชิญคณาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องนั้นๆทั้งในและนอกสถาบันมาร่วมเขียน เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านรัฐศาสตร์และการต่างประเทศ

                2.3) การจัดประชุม/สัมมนา/อบรม  เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยและความรู้ ในเชิงวิชาการอื่นๆแก่สังคม เพื่อเป็นเวทีในการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ซึ่งได้แก่นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบาย เจ้าหน้าที่ในภาคปฏิบัติและสาธารณะชน รวมทั้งการนำงานวิจัยไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศหรือแม้กระทั่งประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

                2.4) การให้บริการข่าวประชาสัมพันธ์ในแวดวงการวิชาการ/วิจัยสายสังคมศาสตร์ เพื่อให้ศูนย์วิจัยฯเป็นแหล่งรวมข่าวสารแวดวงการวิชาการ/วิจัยสายสังคมศาสตร์ที่มีความทันสมัยและครอบคลุมที่สุด ประเภทต่างๆ ได้แก่

                -ทุนการทำวิจัยของหน่วยงานทั้งในและนอกคณะฯ

                -การอบรม/ประชุม/สัมมนาเกี่ยวกับการวิจัยและสัมมนาวิชาการด้านรัฐศาสตร์

                -การส่งผลงานวิชาการ/วิจัยเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการต่างๆ และการตีพิมพ์เผยแพร่

                -ปกิณะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ด้านการทำวิจัยด้านรัฐศาสตร์


 Direk Jayanama Research Center (DJRC)
       Faculty of Political Science, Thammasat University
        
       Rationale
             Since 1990s, Thailand has faced a number of difficulties and challenges due to a globalization and changes of domestic and international political and economic environment. Domestically, Thai politics has been under a transition period. Power structure and political institutions have been transformed. Globalization and liberalization also raise the question of state’s role and capacity to respond and adapt to the new conditions and environment. Internationally, owing to the dynamic changes of international environment together with the emergence of new actors in the international community, it is expected that Thailand’s position and role both in the region and in the world would be more positive and active. At the same time, her relations with the neighboring countries have been reconsidered and promoted in order to enhance economic development and strengthen peaceful relationship.
              In order to cope with all these challenges, “knowledge” is very vital for policy makers and public. Direk Jayanama Research Center (DJRC) of Faculty of Political Science, Thammasat University, has been reorganized since June 2011 to be a research center and to function as a think tank focusing on political institutions and foreign policies.
        
       Objectives
       1. To create and enhance body of knowledge on political institutions and foreign policies.                        
       2. To bridge between policy makers and academic, and provide policy recommendation.                        
       3. To disseminate knowledge to public by various means  (public seminars, publications, etc.)
       
       Activities
              To achieve the goal of being ‘think tank’, Direk Jayanama Research Center (DJRC) plans to conduct several activities; namely, research projects, database, dissemination, international network, and training program.
       
       
       Research Projects
               Regarding research, priority will be given to research projects related to Thai political institutions and foreign policy, particularly her policy and role in the region and her relations with neighboring countries.  In addition, some critical current issues; such as, ASEAN Community, Food Security, Borderland, etc., will also be studied, recent research project are;
               – The study and redesign of Thai election system.
               – The study on Thailand’s policy and role in ASEAN.
               – The study on Thailand’s food security policy.
               – The study on Thailand’s development cooperation policy.
               – Streams of knowledge along Thai-Burmese Border Zones.
               – Japan-Thailand Relations: Shared experiences and lesson learned on crisis management.
               – ASEAN Watch
        
       Database
               DJRC aims to be a ‘tank’ of some selected data and information which has not been accumulated much with systematically analysis by other organizations. Therefore, data base on 3 important issues are developed currently; food security, international development Cooperation, and Thailand in ASEAN.
       
       Dissemination
               To be a “Bridge” between an academic world and policy makers, as well as to provide knowledge for public, several dissemination channels are created; for example, Political Science Forum, public seminars, and various types of publications.
        
       International Network
               As Thammasat University as well as Faculty of Political Science have promoted the internationalization policy, DJRC, as a response to that policy, has designed and developed several international networks of scholars; for example, ICIRD, CEAS, and TMTT. All these networks mainly function as a forum for scholars from within and outside the country to exchange their ideas and knowledge, and conduct academic activities together. (More detail can be found at websites of ICIRD and CEAS).
       
       Training programs and Consulting Projects
                To increase efficiency of public and private sectors, new knowledge and technology must be equipped to personals of both sectors. Therefore, capacity building by tailor-made training programs are conducted recently; such as, Certificate Program in Public Administration for Economic and Social Development; Certificate Program in Supporting work for the NESDP No. 11 (2012-2016); Certificate Program in Preparedness for ASEAN Community 2015; Certificate Program in Preparedness for Young Politicians under Democratization and Decentralization Process, etc.