บทเรียนจากสุลาเวสี สู่ การเตรียมความพร้อมการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย

“อย่าถามเรื่องความคุ้มค่าในเชิงตัวเลขเหมือนที่คนทางการเงินชอบถาม” เมื่อ… “ความคุ้มค่า” ในการจัดการภัยพิบัติ คือ “ชีวิต” เมื่อ…”ความสูญเสีย” ไม่อาจย้อนคืนกลับมาแก้ไข การเรียน “ถูก และเรียน “ผิด” จากประสบการณ์ในอดีต จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงต่อความผิดพลาดที่จะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต แล้ว…ประเทศไทย “พร้อม” หรือยัง? —– ในวาระร่วมฉลองครบรอบ 70 ปี แห่งการสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โครงการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์สู่สาธารณะได้เชิญ ผศ.ดร. ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มาร่วมพูดคุยประเด็นการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งในตอนแรกและตอนสองเราได้นำเสนอความสำคัญในการเรียนรู้การจัดการภัยพิบัติและการจัดการภัยพิบัติในสุลาเวสี อินโดนีเซียไปแล้ว —– ในตอนที่ 3 ตอนสุดท้ายของเทปนี้ เราจะร่วมกันถอดบทเรียนจากกรณีการบริหารจัดการภัยพิบัติในสุลาเวสี อินโดนีเซีย เพื่อสำรวจความพร้อมรับมือภัยพิบัติของประเทศไทยว่าพร้อมแค่ไหน ความคุ้มค่าในการลงทุนงบประมาณจากภาครัฐวัดจากอะไร ในตอนที่มีชื่อว่า ““บทเรียนจากสุลาเวสี สู่ การเตรียมความพร้อมการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย”

สำหรับผู้ที่พลาดชมตอนแรกและตอนที่สอง สามารถติดตามชมย้อนหลังได้ที่

EP.1 ตอนที่1/3 “เรียนให้รู้ อยู่ให้เป็น ประเด็น ‘ภัยพิบัติ’ กับ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช” https://www.youtube.com/watch?v=ntdgM…

EP.1 ตอนที่ 2/3 “ความท้าทายการจัดการภัยพิบัติ: กรณีสึนามิถล่มสุลาเวสี อินโดนีเซีย” https://www.youtube.com/watch?v=qmfFJ…

ตอนต่อไปเราจะชวนอาจารย์ท่านใดมาร่วมพูดคุยประเด็นน่าสนใจอะไร #โปรดติดตาม#70ปีรัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์#วิชาการเพื่อราษฎร์ศาสตร์เพื่อประชาธิปไตย