งานวิจัยเรื่อง บทบาทและหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี หลังพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

               จุฬาราชมนตรี (Shiekhul Islam) เป็นตำแหน่งผู้นำสูงสุดทางด้านการบริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย และเป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับกิจการมุสลิมทั้งปวง  ฉะนั้น ตำแหน่งดังกล่าวมีความสำคัญในฐานะเป็นประมุขของศาสนาอิสลาม  ซึ่งมีบทบาททางด้านสังคม การเมือง รวมไปถึงผู้นำศาสนา ดังนั้นจุฬาราชมนตรีจึงเป็นตำแหน่งของผู้ที่มีความรอบรู้ทางศาสนาอิสลาม และได้รับความไว้วางใจจากชาวมุสลิมในประเทศไทย

               ประเทศไทยมีบทบัญญัติที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามหลัก ๆ 4 ฉบับ คือ (1) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 (2) พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 (3) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการสาสนูปถัมป์ฝ่ายอิสลาม (ฉะบับที่ 2) พ.ศ. 2491 และ พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540

               หลังพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 กำหนดอำนาจหน้าที่ไว้ 4 ประการ คือ (1) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม (2) แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม (3) ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา และ (4) ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งอิสลาม

               จากผลการศึกษาพบว่า จุฬาราชมนตรีภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มีบทบาทด้วยกัน 3 มิติ คือ (1) บทบาททางสังคม (2) บทบาททางวัฒนธรรม และ (3) บทบาททางการเมือง ซึ่งบทบาททางการเมืองเป็นประเด็นหลักที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงการวางตัวเป็นกลาง และอาจเป็นการกระทำที่นอกเหนือไปจากบทบัญญัติที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว

             

Shiekhul Islam is the highest leading position in ranks when it comes to the administration of Islamic affairs in Thailand. The roles and responsibilities also include being a consultant for all the country’s Islamic affairs. The position serves as the president of Islamic religion with an active role in social, politic and religious aspects. Therefore, Shiekhul Islam is the position that technically belongs to the one with a thorough knowledge of the religion, and the one trusted by the Muslims in Thailand.

Thailand has 4 main regulations on Islam which are (1) the Royal Decree on Patronage on Islam B.E 2488 (1945), (2) Act on Mosque B.E. 2490 (1947), (3) Royal Decree on Patronage on Islam (No. 2) B.E. 2491 (1948) and (4) Act on the Administration of Islam Religious Organization B.E. 2540 (1997).

Act on the Administration of Islam Religious Organization B.E. 2540 (1997) has entitled the Shiekhul Islam’s position holder with 4 roles and responsibilities. These include (1) providing consultation as well as opinion on the matters related to Islamic religion to the government agencies, (2) making an appointment of a committee of qualified people to provide consultation on the matters related to Islamic religious prescriptions; (3) making an announcement on the result of moon sighting to designate the religious holiday; and (4) making an announcement of any decision related to the Islamic religious prescriptions.

The studies have shown that Shiekhul Islam under the Act on the Administration of Islam Religious Organization B.E. 2540 (1997) has an active role in 3 dimensions which are in (1) society, (2) culture, and (3) politics. However, the political aspect has usually been criticized in terms of the position holder’s neutrality as well as relevant actions taken since these can be out of the character when considering what has been stated in the Act itself.