หนังสือ “เพื่อนบ้าน”: พลวัตรเชิงอำนาจ ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เล่มนี้เป็นหนังสือที่พัฒนาและปรับปรุงมาจากโครงการวิจัยเรื่อง “ความมั่นคงและพลวัตรเชิงอำนาจในประเทศเพื่อนบ้าน: นัยยะที่มีต่อประเทศไทย” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ภายใต้ “ทุนวิจัยทั่วไป” ประจำปีงบประมาณ 2557 (ตามสัญญาเลขที่ ทป 2/1/2557) ซึ่งมุ่งศึกษาที่มาที่ไป พลวัตรเชิงอำนาจและความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยภายใน-ระหว่างประเทศของประเด็นปัญหาความมั่นคงในเพื่อนบ้านของรัฐไทย โดยมีคำถามวิจัยหลักคือ “การเมืองภายในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศส่งผลกระทบต่อประเด็นปัญหาความมั่นคงของประเทศเพื่อนบ้านยุคหลังสงครามเย็นอย่างไร? และประเด็นความมั่นคงดังกล่าวมีนัยยะสำคัญต่อความสัมพันธ์ต่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร?” หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยกรณีศึกษา 5 กรณีศึกษา ได้แก่
• กรณีศึกษา 1 : มหาอำนาจกับสถาปัตยกรรมทางความมั่นคงในเอเชีย-แปซิฟิก: ข้อถกเถียงเชิงทฤษฎี และกรณีศึกษาทะเลจีนใต้ (ผศ.จิตติภัทร พูนขำ)
• กรณีศึกษา 2 : กรณีปัญหาความมั่นคงชายแดนที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับเมียนมา (ผศ.ดร.ม.ล. พินิตพันธุ์ บริพัตร)
• กรณีศึกษา 3 : กรณีความขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศมาเลเซีย (ผศ. ดร.ชนินท์ทิรา ณ ถลาง)
• กรณีศึกษา 4 : กรณีความขัดแย้งในลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศลาว (ดร. หฤษฎ์ อินทะกนก)
• กรณีศึกษา 5 : กรณีความมั่นคงและพลวัตรเชิงอำนาจในกัมพูชาและความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา (อ.ภิญญ์ ศิรประภาศิริ)
Home » “เพื่อนบ้าน” พลวัตรเชิงอำนาจ ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ