Direk Podcast : Politics of Everyday Life เพราะการเมืองอยู่กับเราทุกที่ ทุกเวลา
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศใช้ะเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงิน เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ลงนามโดย พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติของผู้รับเบี้ยดังกล่าวคือ ต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด ซึ่งนำมาสู่การตั้งข้อสังเกตถึงการปรับเกณฑการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุใหม่นี้ ไม่ได้ถ้วนหน้าและต้องพิสูจน์ความจน
นอกจากนี้เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา ได้มีเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ เครือข่าย We Fair ประสานเสียงภาคประชาสังคม สลัม แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ ชนเผ่า สื่อมวลชน คนพิการ คนรุ่นใหม่ พีมูฟ ผู้บริโภค และนักวิชาการ ได้ยื่นเสนอ ร่าง พระราชบัญญํติผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได 600-1000 บาท เป็นระบบบำนาญประชาชนถ้วนหน้า อัตราไม่ต่ำกว่าเส้นความยากจน 3,000 บาท เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและสังคมไทย
ฉะนั้น ดิเรกพอดแคส ep นี้จะพาคุณผู้ฟังมาพูดคุยถึงกับกลไกการดูแลกลุ่มคนเปราะบางทางสังคม กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อจิรภาส์ เพียรขุนทด สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเราจะมาดูกันว่า ประเทศไทยมีกลไกการดูแลกลุ่มคนเปราะบางอย่างไรบ้าง และมีนโยบายไหนที่สังคมควรจับตามองเป็นพิเศษ รวมไปถึงความท้าทายของรัฐในการดูแลกลุ่มคนเปราะบางในอนาคตบ้าง
ช่องทางติดตาม
Facebook : Direk Jayanama Research Center
SoundClound : https://soundcloud.com/direkpodcast
Spotify : https://open.spotify.com/show/0UYG5hV7VWEd13iWgGD3d5?si=nxUX4qsoSaacq_imRWWDCQ&dl_branch=1
Google Podcast : Direk Podcast