แนะนำหนังสือน่าอ่าน “ประเด็น: การรวมกลุ่มทางภูมิภาค (Regionalism)” โดย ผศ.ดร.สุนิดา อรุณพิพัฒน์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

#แนะนำหนังสือน่าอ่าน
“ประเด็น: การรวมกลุ่มทางภูมิภาค (Regionalism)”
โดย ผศ.ดร.สุนิดา อรุณพิพัฒน์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
.
หนังสือที่แนะนำนี้จะเน้นไปที่ประเด็นเกี่ยวกับการรวมกลุ่มทางภูมิภาค (Regionalism) ซึ่งคงจะต้องมีชื่อองค์การอย่างอาเซียน และสหภาพยุโรปขึ้นมาแน่นอน แต่หนังสือเหล่านี้มีการนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจซึ่งค่อนข้างจะให้แง่มุมที่แตกต่างออกไปจากที่เราคุ้นชินกัน
.
🚩 Rethinking Regionalism (Fredrik Soderbaum, 2016)
หนังสือนำเสนอเรื่องทั่วไปที่ควรรู้เกี่ยวกับการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค เช่น พัฒนาการ กรอบคิดทฤษฎี การเปรียบเทียบการรวมกลุ่มในภูมิภาคต่างๆ และฉายให้เห็นภาพรูปแบบหรือกระแสการบูรณาการทางภูมิภาคใหม่ๆที่เกิดขึ้น เช่น บทบาทของภาคประชาสังคม (Civil Society) และการเชื่อมโยงข้ามภูมิภาค (Interregionalism) จุดที่หนังสือเล่มนี้นำเสนอได้น่าสนใจเป็นเรื่องของความพยายามในการอธิบายการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาคผ่านบทบาทที่ไม่ใช่รัฐเป็นตัวนำ และไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์แห่งชาติมาเป็นข้ออ้างในการรวมกลุ่มตามที่เราคุ้นชินเสมอไป
.
🚩 SMEs and Economic Integration in Southeast Asia (Cassey Lee, Dionisius Narjoko & Sothea Oum, 2019)
หนังสือเผยแพร่บทความภายใต้โครงการวิจัยที่ทำร่วมกันระหว่าง The Economic Research Institute for ASEAN and East Asia (ERIA) และ ISEAS- Yusof Ishak Institute โดยนำเสนอบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เชื่อมโยงกับการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค จุดที่หนังสือเล่มนี้นำเสนอได้น่าสนใจเป็นเรื่องของการสำรวจ SMEs ที่แม้จะมีความสำคัญกับเศรษฐกิจอย่างมากก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากสัดส่วนของ SMEs คิดเป็นร้อยละ 97-99 ของบริษัททั้งหมด และสัดส่วนการจ้างงานที่คิดเป็นร้อยละ 60 – 80 ของการจ้างงานทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่กลับมีข้อสงสัยว่าจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้ามากน้อยเพียงใด และช่วยส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการทางเศรษฐกิจที่ทำโดยเอกชนมากน้อยเพียงใด
.
👉 อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของหนังสือทั้งสองเล่มนี้ได้ที่
http://www.polsci.tu.ac.th/direk/view.aspx?id=472