เสวนานักวิจัยรุ่นใหม่ออนไลน์ เรื่อง อุบลโมเดล : นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติจริง

จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นจังหวัดที่มีการดำเนินการตามโรดแมปด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนของภาครัฐ และมีมันสำปะหลังอินทรีย์เป็นพืชนำร่องของโครงการ ซึ่งรูปแบบการดำเนินนโยบายอยู่ในลักษณะการควบรวมและต่อยอดกับโครงการเดิมในพื้นที่คือ โครงการพัฒนาการส่งเสริมการเกษตรการปลูกมันสำปะหลัง หรือ โครงการอุบลโมเดล โดยการขับเคลื่อนนโยบายจะอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกร ภาครัฐ และภาคเอกชนในพื้นที่

.

งานวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของ อ.พิชญา วิทูรกิจจา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี ได้ศึกษาถึงการดำเนินโครงการฯ และปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติ ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระของนโยบาย อันได้แก่ ความไม่เป็นเหตุเป็นผลของนโยบาย และ นโยบายเป็นผลจากการควบรวมและต่อยอดโครงการเดิมในพื้นที่ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของนโยบาย อย่างสมรรถนะของหน่วยงาน การสนับสนุนจากผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง และทัศนคติและวิถีชีวิตของเกษตรกร ในขณะที่ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นมีส่วน เชื่อมโยงต่อปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนนโยบาย โดยเฉพาะปัญหาการสื่อสารและประสานงานจาก หน่วยงานระดับบนไปยังระดับล่างไม่เพียงพอ ปัญหาผู้ปฏิบัติงานทำงานในรูปแบบเดิมที่เคยปฏิบัติมาก่อน และปัญหางบประมาณและปัจจัยสนับสนุนไม่เพียงพอ

.

📌งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ ได้กำหนดจัดโครงการเสวนานักวิจัยรุ่นใหม่ออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ อุบลโมเดล : นโยบายเศรษฐกิจชีวภาพสู่การปฏิบัติจริง ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 ระหว่างเวลา 10.00-12.00 น. ทางเพจ Direk Jayanama Research Center

.

วิทยากรนำเสนอ

🔴 อ.พิชญา วิทูรกิจจา

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

วิทยากรร่วมเสวนา

🟡รศ.ดร.ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

🔴ดร.เดชรัต สุขกำเนิด

ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต

ดำเนินรายการโดย

อ.ดร.นาอีม แลนิ

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์